งานห้องคลอด

                  Service  Profile  งานห้องคลอดกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลภูเขียว
1.บริบท (Contex)
ก. หน้าที่และเป้าหมาย ให้บริการคลอดตามมาตรฐานเพื่อลูกเกิดรอด- แม่ปลอดภัย ผู้มารับบริการและญาติพึงพอใจ
ข. ขอบเขตการให้บริการ ศักยภาพ ข้อจำกัด   ให้บริการหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ที่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดและมีภาวะแทรกซ้อน,บริการทำคลอดปกติ,ผิดปกติ,ดูแลมารดาหลังคลอดทางช่องคลอด 2 ชั่วโมง และดูแลทารกแรกเกิดทั้งภาวะปกติและผิดปกติใน 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด รวมทั้งมารดาที่คลอดระหว่างการนำส่งโรงพยาบาลหรือคลอดนอกสถานบริการสาธารณสุข หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ที่แพทย์ยับยั้งการคลอดโดยการใช้ยา และCase รับ Refer จากโรงพยาบาลชุมชนใก้ลเคียง
สำหรับผู้รับบริการที่มีปัญหาซับซ้อนเกินศักยภาพในการดูแล เช่น กรณีเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์น้อยกว่า 2000 กรัม HELLP syndrome หรือ Case ที่สูติแพทย์ประสานกุมารแพทย์ หรืออายุรแพทย์พิจารณาว่าเกินขีดความสามารถจะได้รับการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลชัยภูมิ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ขอนแก่น และ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
ค.ผู้รับผลงานและความต้องการที่สำคัญ ( จำแนกตามกลุ่มผู้รับผลงาน)                                                            ความต้องการของผู้รับบริการและญาติ ส่วนใหญ่ ได้แก่ การได้รับการดูแลเอาใจใส่จากแพทย์และพยาบาล  อย่างต่อเนื่อง ความปลอดภัยของมารดาและทารก การได้รับทราบข้อมูลความก้าวหน้าของการคลอดและ แผนการรักษาของแพทย์ เจ้าหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส การเยี่ยมหลังคลอด
ความต้องการของผู้รับผลงานภายใน ที่สำคัญ ไดแก่ การประสานงานที่ดี การส่งต่อข้อมูล การเตรียมอุปกรณ์ให้ใช้พร้อมใช้ การบันทึกข้อมูลครบถ้วนสมบรูณ์ และการส่งต่อมารดาและทารกอย่างถูกต้องครบถ้วยตามขั้นตอน
ง. ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ
 ลดโอกาสการเกิดภาวะทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน ลดโอกาสเกิดภาวะมารดาตกเลือดหลังคลอดสามารถค้นหาภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ได้แต่เนิ่นๆเพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะเสี่ยงไม่ให้รุนแรงเพิ่มขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์มีกระบวนการในการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว และให้การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วย
จ. ความท้าท้ายความเสี่ยงที่สำคัญ
 1.การป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดที่รุนแรง
2.ป้องกันภาวะชักและภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูง เช่น HELLP Syndrome และ Intracraninl hemorrhage
3.ป้องกันและลดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดทั้งหญิงตั้งครรภ์ปกติและหญิงตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง
4.ป้องกันการคลอดติดไหล่โดยประเมินน้ำหนักเด็กในรายที่
  4.1  มารดามีความเสี่ยงสูงเช่น GDM
  4.2  Size>Date
  4.3 น้ำหนักขึ้นมากกว่า 20 กิโลกรัม
ฉ.ปริมาณงานและทรัพยากร (คน เทคโนโลยี เครื่องมือ )
ทีมในการดูแลรักษาพยาบาล มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาสูติ-นรีเวชกรรม 1 ท่านและมีเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานดังนี้
หน่วยงาน
  พยาบาลวิชาชีพ
  พยาบาลเทคนิค
ผู้ช่วยเหลือคนไข้/คนงาน
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
งานห้องคลอด
12
1
4/3
1

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญในการให้บริการได้แก่
1.Electroinc Fetal Monitoring แบบเคลื่อนที่            2  เครื่อง
2.Electroinc Fetal Monitoring แบบ Central line      6 เครื่อง
3.Drop                                                                        4 ตัว
4.เครื่องอัลตร้าซาวด์ที่ ANC                                       1 เครื่อง
5.Infant Radiant Warmer                                            1 เครื่อง
6.Transport Incubator                                                         1เครื่อง
7.เครื่องวัดสัญญาณชีพแบบอัตโนมัติ                              1เครื่อง
8.เครื่องปั่น Hct                                                                     1เครื่อง
9.เตียงทำคลอดแบบไฟฟ้า                                                   1เตียง
10.เตียงทำคลอดแบบธรรมดา                                             1เตียง
11.รถ Emergencyมารดาและทารก                                    1คัน
12.เครื่องดูดสุญญากาศช่วยคลอด                                     2 เครื่อง



บุคลากรในหน่วยงานห้องคลอด
1.           นางนิตยา                   ทองประเสริฐ           ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
2.           นางสาวบัวเลียน       สินเทา                      ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
3.           นางณัฐติภรณ์            นามโคตร                  ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
4.           นางสาวจุลกิฬา        เชื้อจำรูญ                   ตำแหน่งพยาบาลวิชาชิพชำนาญการ
5.           นางกิติยา                   ศิริมา                          ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฎิบัตการ
6.           นางสาวอรทัย           ประเสริฐกุล                          ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัตการ
7.           นางสาววินารัตน์      เต็มแก้ว                      ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัตการ
8.           นางสาวขนิษฐา        พรมมาบุญ                 ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัตการ
9.           นางสาวพิทยา            หมื่นจิตร                   ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัตการ
10.  นางสาวปิยดา           เหมือนพันธ์                          ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัตการ
11.  นางสาวจตุพร           ชัยพงษ์                       ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัตการ
12.  นางสาวอังศุมาลิน  ประทุมกุล                 ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัตการ
13.  นางพวงพิศ                ศิลาสูงเนิน                ตำแหน่งพยาบาลเทคนิค
14.  นางเทวี                      เพชรภักดี                 ตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้
15.  นางสุดารักษ์             อาโยวงษ์                   ตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้
16.  นางนวนันท์              คำจันทร์                     ตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้
17.  นางเบญญาภา         ชาญศรี                       ตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้
18.  นางทองคูณ            จิตแสง                         ตำแหน่งคนงาน
19.  นางสาวบรรจบ        จันทร์ทอง                             ตำแหน่งคนงาน
20.  นางพรสวรรค์           จรัสพันธ์                    ตำแหน่งคนงาน
21.  นางสาวโสภิดา         ทักสูงเนิน                  ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

                                                

4 ความคิดเห็น:

  1. วันเสาร์อาทิตย์แพทย์เวรไม่เข้าห้องคลอดเหรอคะเที่ยงครึ่งก็ยังไม่เห็นหมอเข้ามาตรวจคนไข้เลย

    ตอบลบ
  2. รับฝากครรภ์วันอะไรค่ะ

    ตอบลบ
  3. ฝากท้องที่กทม.ไปคลอดที่ภูเขียวได้ไหมคะ

    ตอบลบ
  4. ฝากครรภ์ที่ขอนแก่นแต่อยากไปคลอดบ้านแฟนที่ภูเขียวไปได้ไหมค่ะ

    ตอบลบ